Soft Skills
ทักษะในการทำงานแบ่งได้หลักๆอยู่สองประเภท คือ Hard Skill กับ Soft Skill
Hard Skills
คือ Skill ตาม Job Description ของเราที่ต้องใช้เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมาย
แต่เอาเข้าจริงเรายังต้องการ Skill ที่มากกว่านั้นเพื่อทำให้งานเสร็จได้ เช่นการสื่อสารทั้งกับเพื่อนร่วมงานในทีม / ทีมอื่นๆ, การทำความเข้าใจ เจรจาต่อรองในเนื้อหาของงานที่ได้รับมอบหมาย
Soft Skills
จะช่วยทำให้เรามีความสุขกับการทำงานมากขึ้นครับ เพราะช่วยเราปรับมุมมอง ปรับวิธีคิดของเราให้สามารถจัดการกับสถานะการต่างๆได้อย่างเข้าใจแท้จริงและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังช่วยให้เรามองโลกในแง่บวกอีกด้วย เพราะมองอะไรเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
ในบทความนี้จึงอยากรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Soft Skills เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้เบื้องต้นกันนะครับ โดยเป็นเนื้อหาที่ผมเคยอ่านผ่านตามาทั้งหมดแล้วและมองเห็นว่าง่ายต่อการเรียนรู้ เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริงนะครับ
รวมเนื้อหาเพื่อการศึกษา Soft Skills
ศาสตร์แห่งการตั้งคำถาม
การตั้งคำถามสำคัญกับการเขียนโปรแกรมเนื่องจากหลายเหตุผล:
- ความชัดเจนในปัญหา: การตั้งคำถามที่ถูกต้องช่วยให้เราเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดในการหาทางแก้ไขปัญหา ถ้าเราเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้อง โอกาสที่จะหาคำตอบที่ถูกต้องก็สูงขึ้น
- การหาคำตอบที่ถูกต้อง: การตั้งคำถามดีช่วยให้เราได้คำตอบที่มีประโยชน์ การถามที่ผิดหรือไม่มีชั้นเชิงอาจทำให้เราได้คำตอบที่ไม่ช่วยอะไรเลย ดังนั้นคำถามที่ดีมีผลต่อการได้คำตอบที่มีคุณภาพ
- การค้นคว้าและการเรียนรู้: การตั้งคำถามช่วยในการค้นหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถามผู้เชี่ยวชาญหรือการค้นหาในอินเทอร์เน็ต การตั้งคำถามที่ชัดเจนและถูกต้องช่วยให้การค้นคว้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การพัฒนาความคิดและการแก้ปัญหา: การตั้งคำถามที่ดีไม่เพียงแค่ช่วยหาคำตอบ แต่มันยังช่วยพัฒนาการคิดและการแก้ปัญหา การถามคำถามที่มีคุณภาพจะช่วยให้เราปรับปรุงวิธีคิดและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง: คนที่ตั้งคำถามเก่งและถูกต้องมีโอกาสที่จะพัฒนาและก้าวหน้าได้ไกลในอนาคต เนื่องจากพวกเขามีพื้นฐานของการไขว่คว้าหาความรู้อย่างไม่สิ้นสุด
ดังนั้น การตั้งคำถามเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้านครับ ผมจึงอยากแนะนำวิธีการตั้งคำถามที่ดี จากคุณหนูเนยครับ
NuuNeoI - คำตอบที่ใช่เกิดจากคำถามที่ถูกต้อง "ศาสตร์ของการถาม" ถามอย่างไรให้ได้คำตอบ
บทความ: หลักการและวิธีการเรียนรู้ให้ “เข้าใจ”
ผู้เขียน: คุณ Chris
บทที่ 1 วิธีการเรียนรู้ให้เข้าใจมากขึ้น
บทที่ 1 วิธีการเรียนรู้ให้เข้าใจมากขึ้น
วิธีการเรียนรู้ให้เข้าใจนั้นประกอบด้วย
- การเล่นกับข้อมูลที่ได้รับ เช่น หากเรียนรู้วิธีทำหมูทอดกระเทียมที่ต้องใส่ซีอิ๊วขาวสองช้อน
- การเล่นกับข้อมูลก็คือการลองเปลี่ยนส่วนผสม เช่น ลองใส่ซีอิ๊วสามช้อน ใช้เกลือแทนซีอิ๊ว หรือลองใช้หมูส่วนต่างๆ ซึ่งการทดลองแบบนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เรียนรู้
หลักการสำคัญที่ผู้เขียนเน้นคือ การทำความเข้าใจไม่ได้เกิดจากการรับข้อมูลภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการสร้างโลกภายในผ่านการทดลองและการเล่นกับข้อมูล ซึ่งจะทำให้ความเข้าใจนั้นลึกซึ้งและไม่ต้องจำอะไรมากนัก
บทที่ 2 การเรียนรู้ที่เน้นการย่อยข้อมูลให้เข้ากับเรา
บทที่ 2 การเรียนรู้ที่เน้นการย่อยข้อมูลให้เข้ากับเรา
ในบทความ “หลักการเรียนรู้ให้เข้าใจ (ภาค 2)” ผู้เขียนได้อธิบายถึงหลักการเรียนรู้ที่เน้นการย่อยข้อมูลให้เข้ากับระบบภายในของเราเอง ซึ่งเปรียบเทียบกับ
- การกินอาหารที่ต้องย่อยก่อนจึงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
- การเรียนรู้ก็เช่นกัน เราต้องนำข้อมูลที่ได้รับมาย่อยและปรับใช้ในบริบทของเรา เพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจและความทรงจำของเราอย่างแท้จริง
การเข้าใจที่แท้จริงเกิดจากการที่เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิมของเราได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เราจดจำและนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องย้อนกลับไปดูข้อมูลต้นทางอยู่บ่อยครั้ง
การเปรียบเทียบ ปรับโครงสร้าง หรือประยุกต์ใช้กับตัวอย่างจากชีวิตประจำวันเป็นวิธีการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในการเชื่อมโยงและย่อยข้อมูลใหม่ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างว่าจะประยุกต์ยังไง
- Cap Theorem ให้เปรียบเทียบกับการมีธนาคารสองสาขาที่ต้องส่งข้อมูลกันผ่านกระดาษ และ Reception อาจจะไปเข้าห้องน้ำ อันนี้เราเชื่อมทฤษฎีเข้ากับอะไรที่เป็นประสบการณ์ของเรา
- API Design แบบใหม่ เปรียบเทียบระหว่างของเดิมที่เราทำกับของเก่า แล้วดูโฟกัสว่ามันต่างกันตรงไหนเหมือนกันตรงไหน
- ต้องไปแก้ Legacy system สมมติต้องไปทำงานปรับวิธีการแสดงราคา พอค้นคว้าข้อมูลไปซักพัก กลับมาเชื่อมตลอดว่า ที่เราเรียนมันจะไปใช้ปรับแสดงราคาได้ยังไงนะ แล้วตรงไหนต้องใช้ในงานประชุมพรุ่งนี้นะ
- ถ้าไปเรียนทฤษฎีบริหารใหม่ กลับมาเชื่อมว่าเอ้อชีวิตประจำวันที่เราทำงาน ตรงไหนใช้ได้บ้างไม่ได้บ้างนะ
คำแนะนำจากผู้เขียน
ฝึกนิสัยในการเชื่อมต่อสิ่งที่เรารู้หรือเราต้องการ กับข้อมูลที่เราเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการที่เราเรียนรู้แต่ไม่สามารถช่วยให้แก้ปัญหาในงานได้เลย
ถ้ายังไม่คล่อง ตั้งเวลาไว้ทุกๆ 15 นาที แล้วถามตัวเองว่า “ตกลงที่เราเรียนเนี่ยมันเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องทำยังไงนะ”แล้วถ้าไม่เกี่ยว ตัดทิ้งเลยครับ ไม่ต้องเสียดาย
- กลับมาถามตัวเองว่าสิ่งนี้มันตรง ไม่ตรง กับสิ่งที่เราเคยรู้ยังไงบ้างนะ
- ถ้าไม่ตรง มีอะไรที่เราต้องเปลี่ยนความเชื่อพื้นฐานของเราเพื่อให้รับข้อมูลใหม่นี้ได้บ้างนะ หรือเราจะทิ้งข้อมูลใหม่ไปก่อนดีนะ
- เราจะเชื่อมสิ่งที่เรารู้และจำได้ขึ้นใจ กับสิ่งใหม่ได้ยังไงบ้างนะ
- กระบวนการย่อยข้อมูล #1 — #3 คือการทบทวนเนื้อหาที่เราเรียนใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากว่าการที่เรากลับมาทบทวนด้วยการอ่านซ้ำๆเพื่อจดจำเนื้อหา
เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วย Second Brain และ Notion
Notion
เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถหลากหลายในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้เหมาะสมกับการสร้าง Second Brain โดยมีฟีเจอร์หลักๆ ดังนี้:
- Pages: หน้าสำหรับเก็บบันทึกต่างๆ ที่สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้นได้
- Databases: ฐานข้อมูลที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แกลเลอรี่ และรายการ
- Templates: แม่แบบที่ช่วยในการสร้างบันทึกหรือหน้าที่มีรูปแบบเดียวกันอย่างรวดเร็ว
- Linked Databases: การเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่มีอยู่ในหน้าอื่นๆ เพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ
Second Brain
เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่จะช่วยให้คุณเก็บบันทึกความรู้ ไอเดีย และข้อมูลสำคัญได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้สามารถดึงข้อมูลกลับมาใช้ได้ง่ายและเร็ว โดยมีการนำหลักการไปใช้ใน Notion ดังนี้
- Capture: ใช้ Notion ในการบันทึกไอเดียและข้อมูลสำคัญต่างๆ ลงในหน้าและฐานข้อมูล
- Organize: จัดเรียงข้อมูลด้วยการใช้แท็ก หมวดหมู่ และการเชื่อมโยงฐานข้อมูล
- Distill: สร้างหน้าสรุปหรือแม่แบบเพื่อสรุปข้อมูลสำคัญ
- Express: ใช้ข้อมูลใน Notion ในการสร้างผลงานหรือการนำเสนอ
แนะนำให้ติดตามเนื้อหาจากคุณทอย DataRockie นะครับ สุดจัดมากๆ
Live - Building A Second Brain with Notion
อีก 1 บทความจากคุณ Jerome Tana ครับอธิบายดีมากๆเลย